เวชภัณฑ์.คอม
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
  • หน้าแรก
  • เรื่องสุขภาพน่ารู้
  • สินค้า
  • ติดต่อ
  1. คุณอยู่ที่:  
  2. หน้าแรก
  3. เรื่องสุขภาพน่ารู้
  4. โรคทางกายภาพบำบัดที่พบบ่อย
  5. ตอนที่ 7 โรคปวดข้อศอกด้านนอก หรือเรียกอีกอย่างว่า Tennis elbow

ตอนที่ 7 โรคปวดข้อศอกด้านนอก หรือเรียกอีกอย่างว่า Tennis elbow

  • Created
    วันพฤหัสบดี, 04 มิถุนายน 2558
  • Created by
    Administrator
  • Last modified
    วันอังคาร, 18 พฤษภาคม 2564
  • Revised by
    Administrator
  • Voting
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    (2 votes)
  • Favourites
    Add to favourites
  • Categories
    โรคทางกายภาพบำบัดที่พบบ่อย

"โรคปวดข้อศอกด้านนอก" หรือเรียกอีกอย่างว่า "Tennis elbow"

 7 7

 

 ... สาเหตุ .....
อาการปวดข้อศอกด้านนอก มักพบได้ในผู้ที่มีการกระดกข้อมือหรือเหยียดข้อศอกอยู่บ่อยๆ เช่น ผู้ที่ต้องยกของหนักเป็นประจำ ผู้ที่มีการทำงานของของข้อมือข้อศอก ข้อมือในลักษณะซ้ำๆ เป็นเวลานาน (งานสำนักงานที่มีการพิมพ์ดีด ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์บ่อยๆ ช่างฉาบปูน ช่างทาสี) กลุ่มเเม่บ้านซึ่งต้องปัดกวาด เช็ดถู ทำความสะอาด หรือดูแลงานบ้าน งานครัว รวมถึงผู้ที่มีการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาต่างๆ (นักเทนนิส นักกอฟท์) ซึ่งลักษณะดังกล่าวเอ็นกล้ามเนื้อกระดกข้อมือเกิดการบาดเจ็บหรือเกิดการฉีกขาดบางส่วน ส่งผลใหัเกิดจุดกดเจ็บและอาจมีอาการปวดบวมบริเวณร่วมด้วย ซึ่งหากเอ็นกล้ามเนื้อที่มีการอักเสบยังหายไม่สนิทแต่ถูกกลับไปใช้งานอีก จะเกิดการฉีกขาดซ้ำ ส่งผลให้การซ่อมแซมของร่างกายจะช้ากว่าปกติ 

 

 ... อาการ....
- อาการปวดอาจเป็นลักษณะเป็นๆ หายๆ หรือปวดตลอดเวลา
- อาการปวดบริเวณรอบๆ ปุ่มกระดูกข้อศอกด้านนอก หรือบริเวณกล้ามเนื้อที่เกาะลงมาจากกระดูก 
- มีอาการปวดมากขึ้นเวลาทำงานที่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อในการกระดกข้อมือหรือเหยียดนิ้วมือ หรือเวลายกของโดยเฉพาะท่าที่คว่ำฝ่ามือทำงาน เช่น กวาดบ้าน ลากของ ขุดดิน
- บางรายอาจมีอาการปวดร้าวบริเวณหลังแขนลงไปถึงข้อมือ

 7 2

 ... การตรวจร่างกายด้วยตัวเองแบบง่ายๆ.... 
หากมีอาการปวดบริเวณข้อศอกด้านนอก โดยอาการปวดนั้นเกิดขึ้นเมื่อกระดกและเกร็งข้อมือ หรือเหยียดศอกพร้อมกับงอข้อมือลงและกำมือ (กล้ามเนื้อจะถูกยืด) หรืออาจจะเอามืออีกข้างกดบริเวณกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านนอกของข้อศอกแล้วมีอาการปวด ให้สันนิษฐานในเบื้องต้นได้ว่า มีอาการของโรค Tennis elbow ได้

แต่หากมีอาการชา หรืออ่อนแรงร่วมด้วย จำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกายเพิ่มเติม จากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เนื่องจากอาการดังกล่าวอาจบ่งบอกถึงการบาดเจ็บของระบบประสาท ซึ่งอาจจะมีการกดทับเส้นประสาทบริเวณคอ หรือไหล่ได้ 

 

... การรักษาด้วยตนเองในเบื้องต้น....
1. หากพบว่าอยู่ในระยะของการอักเสบให้ประคบด้วยความเย็น โดยใช้ถุงน้ำแข็งหรือแผ่นประคบเย็นห่อผ้า 1 ชั้น แล้วนำมาประคบบริเวณที่มีอาการปวดประมาณ 15-20 นาที เพื่อลดอาการอักเสบ
2. การปรับเปลี่ยนสภาพการทำงาน/การใช้เเขน ข้อศอกและข้อมือในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะใช้หลักการทางการยศาสตร์ (Ergonomics) ซึ่งมีหลักการง่ายๆ ดังนี้
- หากทำงานหรือปฏิบัติกิจกรรมเเล้วมีอาการปวดเมื่อบริเวณข้อศอกด้านนอก ให้หยุดพักการทำงานนั้นสักครู่หนึ่งหรือเปลี่ยนท่าทางในการทำงานไปก่อน เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อมัดนั้น
- ควรปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานให้เหมาะสม หรือจัดหาอุปกรณ์เสริมเพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อ เช่น พนักงานทาสีโดยใช้แปรงทาสี อาจเปลี่ยนเป็นใช้ลูกกลิ้งในการทาสีแทน เพื่อลดการทำงานของข้อมือข้อศอกที่ต้องใช้งานในลักษณะปัดแปรงไปมา หรือสวมใส่เครื่องพยุงข้อศอกเพื่อบรรเทาอาการปวดข้อศอกในนักกีฬาเทนนิส 
3. การบริหารเพื่อเพิ่มความความยืดหยุ่นเเละความเเข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนเเละข้อศอก นอกจากจะทำให้ลดอาการปวดข้อศอกได้แล้ว ยังช่วยป้องการการกลับมาปวดข้อศอกซ้ำได้ดีอีกด้วย ซึ่งจะแนะนำในบทความต่อไปนะคะ 

 

การบริหารแบบง่ายๆ ในผู้ที่มีอาการปวดข้อศอกด้านนอก 

 7 4

 ... ท่ายืดกล้ามเนื้อข้อศอกและข้อมือเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ

1. เหยียดข้อศอกตึง ใช้มืออีกข้างกระดกข้อมือลงพร้อมเอียงฝ่ามือไปทางด้านนิ้วก้อยเล็กน้อย จะรู้สึกตึงบริเวณเเขนท่อนล่างด้านบน ค้างไว้นับ 1-10
2. เหยียดข้อศอกตึง ใช้มืออีกข้างกระดกข้อมือขึ้นให้มากที่สุด จะรู้สึกตึงบริเวณท้องเเขน ค้างไว้นับ 1-10 

 

7 5

 ... ท่าบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อศอกและข้อมือ ป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ...
1. ข้อศอกเหยียดตรง หงายมือ พร้อมกำมือแล้วค่อยๆ เกร็งกล้ามเนื้อต้นแขน กระดกข้อมือขึ้น-ลงช้าๆ
2. ข้อศอกเหยียดตรง คว่ำมือ พร้อมกำมือแล้วค่อยๆ เกร็งกล้ามเนื้อต้นแขน กระดกข้อมือขึ้น-ลงช้าๆ
3. ข้อศอกเหยียดตรง กำมือ โดยพลิกแขนให้นิ้วหัวเเม่มือชี้ขึ้นด้านบน แล้วค่อยๆ เกร็งกล้ามเนื้อต้นแขน กระดกข้อมือขึ้น-ลงช้าๆ
4. งอข้อศอก 90 องศา แล้วกำมือ ค่อยๆมือแขนท่อนล่าพลิกหงาย-คว่ำช้าๆ

 

การบริหารในช่วงเริ่มต้น ควรบริหารแบบเบาๆ ไม่ควรใช้ถ่วงน้ำหนักมากเกินไปหรือทำการยืดจนกระตุ้นอาการปวด แต่หากอาการอักเสบลดลงแล้ว ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักได้ และค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ โดยใช้ระดับน้ำหนักที่เหมาะสม คือน้ำหนักที่เมื่อยกประมาณ 10-20 ครั้งแล้วรู้สึกเมื่อยเล็กน้อยถึงปานกลาง หากบริหารต่อเนื่อง 1-2 สัปดาห์ แล้วรู้สึกว่าน้ำหนักกนั้นเบาเกินไป สามารถปรับน้ำหนักขึ้นได้ตามความเหมาะสม

 

เเต่หากบริหารหรือดูแลเบื้องต้นด้วยตนเองแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อประเมินอาการและให้การรักษาที่เหมาะสม หากผู้ป่วยมีอาการของโรค Tennis elbow จริง การรักษาทางกายภาพบำบัด อาจต้องมีการใช้เครื่องมือเพิ่มเติม เช่น การอัลตราซาวน์ เพื่อลดการอักเสบของเอ็น/กล้ามเนื้อ

  

 ... ด้วยความปรารถนาดีจากคลินิกบ้านดอนกายภาพบำบัด ให้คำปรึกษาและติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
083-790-1900 / 091-034-0204 ....

 

Facebook Comment

หมวดหมู่สินค้า

  • เครื่องมือกายภาพบำบัด
    • เครื่องอัลตราซาวน์/เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
    • หม้อต้มแผ่นประคบร้อน
    • พาราฟิน/หม้อต้นพาราฟิน
  • อุปกรณ์ช่วยเดินต่างๆ
    • ไม้เท้า 1ปุ่ม ,3ปุ่ม ,4ปุ่ม
    • เครื่องช่วยเดิน 4 ขา (Walker)
  • อุปกรณ์ออกกำลังกาย

Facebook

ข้อมูลติดต่อ

คลินิกบ้านดอนกายภาพบำบัด

โทร : 091-0340204

Copyright © เวชภัณฑ์.คอม www.vetchapan.com  สนับสนุน โดย บ้านดอนกาพภาพบำบัด

ติดต่อสอบถาม โทร 091-0340204